วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

History of Ballet : ประวัติบัลเล่ต์

        "บัลเล่ต์" เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลี่ยนจากคำว่า "balli" ที่แปลว่า "การเต้นรำ" ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ซึ่งการแสดงบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่มนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากยุคปัจจุบันมาก โดยกลุ่มผู้มีบทบาทในการพัฒนารูปแบบศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ในอิตาเลี่ยนคือ กลุ่มขุนนางชายในราชสำนักอิตาเลี่ยน เนื่องจากความยากลำบากของเครื่องแต่งกายของเหล่าขุนนางฝ่ายหญิงที่มีลักษณะ เป็นกระโปรงสุ่มยาวจึงยากแก่การปฏิบัติท่าเต้น
 
1.)นาฏยกรรมสมัยโบราณและสมัยกลาง 
       นาฏกรรมในอิตาลียุคนี้มีสองประเภทคือ ดันเซ่ - Danze และบัลลี - Balli (คำเอกพจน์คือ Ballo) นาฏศิลป์ทั้งสองประเภทนี้เทคนิกการเต้นไม่แตกต่างกันแต่ดนตรีที่ใช้แตกต่างกัน  ดนตรีของดันเซ่ใช้จังหวะเป็นรูปแบบเดียวโดยตลอด ส่วนของบัลลีมีการใช้จังหวะดนตรีมากกว่าจังหวะเดียว
       นาฏกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือ"สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือยุค Renaissance"ของอิตาลีเจริญรุ่งเรือง มีครูนาฏศิลป์หรือที่ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า แมตร์ เดอ บาเล - maître de ballet ครูสอนนาฏศิลป์ในสมัยนั้นทำหน้าที่หลากหลาย ทั้งสอนดนตรีและสอนออกแบบนาฏกรรม กำกับวงดนตรีและกำกับการแสดง ตลอดจนสอนขนบธรรมเนียม และกิริยามรรยาทในการเข้าสังคมชั้นสูงด้วย
        ตอนช่วงต้นศต. 15 มีครูนาฏศิลป์คนหนึ่งชื่อโดเมนิโก ดา ปีอาเชนซา(Domenico da Piacenza) ซึ่ง ถือกันว่าเป็นครูและนักออกแบบนาฏกรรมคนสำคัญคนแรก อยู่ที่เมืองแฟราราในอิตาลี เขียนตำราชื่อว่า เด อาร์เต ซัลตันดี เอ็ต โกเรอัส ดูเช็นดี (De arte saltandi et choreas ducendi) ซึ่งเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการกำกับคอรัส ทำให้เราได้รู้เทคนิกการเต้นรำซึ่งมีพื้นฐานมาจากอดีต
         การเต้นรำให้งดงามตามแบบของดา ปีอาเซนซานั้น ผู้เต้นรำต้องมีเท้าแข็งแรงและยืดหยุ่นดี ต้องวาง จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายให้โน้มไปข้างหน้า เลยกลางฝ่าเท้าไป 
         ศิษย์คนหนึ่งของดา ปีอาเชนซาคือ อันโตนีโอ กอร์นัซซาโน(Antonio Cornazzano) เป็นครูนาฏศิลป์ ประจำราชสำนักสฟอร์ซาในอิตาลี ได้พิมพ์หนังสือไว้เมื่อประมาณค.ศ. 1460 ชื่อ ลีโบร
แดลลาร์เต เดล ดันซาเร
(
Libro dell’arte del danzare) บรรยายถึงนาฏกรรมบัลลีว่าพวกครูนาฏศิลป์ได้นำการลีลาศแบบต่างๆ มาดัดแปลงเป็นนาฏกรรมการแสดง
         กูลเยลโม เอเบรโอ (Guglielmo Ebreo หรือ William the Jew) เป็นครูนาฏศิลป์อีกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงได้ทำงานในราชสำนักหลายแห่งที่อิตาลี ก็เป็นศิษย์ของดา ปีอาเชนซาเช่นกัน เอเบรโอแต่งตำรานาฏศิลป์ ชื่อว่า เด ปราติกา เซอู อาร์เต ตรีปูดี - De Pratica seu Arte Tripudii บรรยายนาฏกรรมไว้มากกว่าห้าสิบชุด แบ่งเป็นชนิดบัสซา-ดันซา - bassa-danza ซึ่งมีลักษณะช้า ๆ สง่างาม ไม่มีการเขย่งเท้าและบัลลี - balli ซึ่งมีลีลาคึกคักกว่าและมีการเขย่งเท้า เอเบรโอเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า บัลเล็ตโต - balletto
         ในช่วงศต.ที่15นี้เอง อิตาลีก็ได้มีการพัฒนานาฏกรรมบัลลีขึ้นในราชสำนัก (ซึ่งแม้จะมีความประณีต แต่ก็ยังใกล้เคียงกับการลีลาศที่คนทั่วไปนิยมกันในสมัยนั้น) 
 
2.)สมัยบัลเล่ต์ราชสำนัก(บัลเล่ต์ยุคแรกเริ่ม)
         พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ แห่งฝรั่งเศส (Catherine de' Medici) เป็นผู้นำศิลปะการเต้นรำบัลลีไปพัฒนาที่ฝรั่งเศสและเรียกชื่อใหม่ว่า Ballet (คำว่า Ballet ที่เราใช้กันในปัจจุบันจึงเป็นภาษาฝรั่งเศสค่ะ) และจัดให้มีการแสดงบัลเล่ต์เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2
         การแสดงบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อการเยินยอรัฐ เพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะและใช้ประกอบในงานราชพิธีสำคัญต่างๆของชนชั้นสูง        
        พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ(ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) และยุคนี้การแสดงบัลเล่ต์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเยินยอกษัตริย์ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์พระราชสำนักหลายเรื่อง เรื่องที่โด่งดังคือเรื่อง “La nuit” มีการระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ         
        ในค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชน

3.)สมัยก่อนบัลเลต์โรแมนติก 

        ในช่วงก่อนสมัยบัลเลต์โรแมนติก แม้บัลเลต์ราชสำนักจะไม่รุ่งเรืองสุดขีดเหมือนเดิม แต่ก็ยังมีแสดงอยู่ ในขณะเดียวกัน บัลเลต์ก็เริ่มพัฒนาเป็นศิลปะการแสดงบนเวทีในโรงละคร มีนาฏศิลปินอาชีพเกิดขึ้น จากการแสดงโดยชนชั้นสูงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานรื่นเริงในราชสำนักและมักมี จุดประสงค์แฝงทางการเมือง บัลเลต์ได้พัฒนามาเป็นการแสดงในโรงละคร โดยศิลปินสามัญชนเพื่อสามัญชน
        ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มี การก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า โอเปรา เดอ ปารี -l’Opéra de Paris (โอเปราแห่งปารีส ) เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่นการใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น มีละครบัลเล่ต์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ เล แซงด์ กาลองต์ - Les Indes Galantes

Les Indes galantes - Les Sauvages
เลแซงด์กาลองต์ - ฉากคนป่า (อินเดียนแดง) 
Les Indes Galantes - Dance
เลแซงด์กาลองต์ - ฉากเต้นรำ
        ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น
                                                                 Marie de Carmargo
         กลางศตวรรษที่ 18 ได้เกิดการปฏิรูปบัลเลต์ขึ้น ให้หันมาใส่ใจกับการแสดงออกทางความรู้สึก มากกว่าจะมุ่งอวดเทคนิคการเต้น ในช่วงดังกล่าวนี้บัลเลต์เริ่มแยกจากโอเปรา พร้อมกันนั้นก็มีนักปฏิรูปบางคนเกิดทัศนะว่าบัลเลต์ควรสื่อความหมายและ ดำเนินเรื่องได้โดยไม่ต้องพึ่งถ้อยคำการขับบทกวีหรือขับร้องเล่าเรื่อง  ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการแสดงชนิดที่เรียกว่าบาเล ดักซียง - ballet d'action
        บาเล ดักซียง หมายถึงบัลเลต์ที่สื่อสารเนื้อหาสาระและความรู้สึก ด้วยกิริยา - action มากกว่าจะอาศัยถ้อยคำหรือบทขับร้อง
        บุคคลสำคัญผู้เสนอและเผยแพร่ความคิดเช่นนี้คือ นักออกแบบนาฏกรรมและครูสอนบัลเลต์ชื่อ 
ฌอง จอร์จ โนแวร์ - Jean George Noverre
        ผู้ที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ ฌอง โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Gardeé - ลูกสาวแสนซน (1789) นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำเรื่องราวชีวิตของสามัญชนมาสร้างเป็นบัลเลต์ ไม่ต้องอาศัยแต่เรื่องจากเทพกรณัมเพียงอย่างเดียว เท่ากับเป็นการเปิดแนวทางใหม่ในการสร้างสรรค์บัลเลต์ อาจกล่าวได้ว่าบัลเลต์เรื่องนี้เป็นการแสดงรูปแบบใหม่คือ เป็นบัลเลต์ที่มีเนื้อเรื่องชวนขบขัน
La Fille Mal Gardeé - ลูกสาวแสนซน
4.)สมัยบัลเลต์โรแมนติก
       บัลเลต์ในสมัยโรแมนติกไม่มีชนชั้นสูงมาอุปถัมภ์แล้ว แต่ได้เกิดผู้ชมกลุ่มใหม่คือชนชั้นกลาง ซึ่งไม่มีความรอบรู้ทางศิลปะมากนัก คนพวกนี้ประสงค์จะเลียนแบบชนชั้นสูง ผู้ชมบัลเลต์โดยทั่วไปต้องการเพียงได้ลืมชีวิตที่น่าหดหู่ของตนชั่วคราว เพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงนั้นส่งผลให้ชีวิตผู้คนในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เปลี่ยนแปลงไป  สังคมเมืองเต็มไปด้วยปัญหาสภาพความเป็นอยู่ที่น่าหดหู่ ศิลปินพวกหนึ่งจึงได้คิดหาแนวทางใหม่เพื่อสื่อความรู้สึกและแสดงออกทางศิลปะ เกิดเป็นคติโรแมนติก(Romanticism)ขึ้น คือมีความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ยึดถือเหตุผลและเน้นคุณค่าของปัจเจกบุคคลมากกว่าประเพณี การแสดงบัลเล่ต์จึงเน้นการแสดงออกทางอารมณ์
        เครื่องแต่งกายในสมัยนั้น กระโปรงบัลเลต์เรียกเป็นภาษาแสลงของฝรั่งเศสว่า ตูตู - tutu  แบบยาวครึ่งน่องเรียก "ตูตูแบบโรแมนติก" แบบสั้นเต่อเรียกว่า "ตูตูแบบคลาสซิเคิล"  บัลเลต์บางฉากที่ผู้แสดงสตรีสวมชุดบัลเลต์สีขาวจนดูโพลนไปทั้งเวที เรียกกันว่าบาเล บลอง - ballet blanc(บัลเลต์ชุดขาว)
         ฟีลิปโป ตาลโยนี Filippo Taglioni ประดิษฐ์ลีลาบัลเลต์เรื่อง ลา ซิลฟีด ให้ลูกสาวชื่อมารี เป็นผู้เต้นนำ ดนตรีประพันธ์โดยชไนท์เซอเฟอร์ - Schneitzhoeffer แสดงครั้งแรกที่โรงโอเปราแห่งปารีสเมื่อปีค.ศ. 1832  ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างสูง จนถือกันว่า ลา ซิลฟีด เป็นบัลเลต์โรแมนติกเต็มรูปแบบเรื่องแรก บัลเล่ต์เรื่องนี้เป็นอุปมาว่า แม้มนุษย์จะเพียรแสวงหาความงามและความสุขสมใจ พยายามไขว่คว้าความฝัน แต่ก็ไม่มีวันได้ครอง เปรียบดังคว้าเงา และหากครองไว้ได้ก็เพียงชั่วครู่เดียวก็มลายสูญไป
        ความโด่งดังของบัลเลต์เรื่องนี้ ทำให้บัลเลต์กลายเป็นศิลปะยอดนิยม และตาลโยนีคือดาราคนสำคัญแห่งยุค
La Sylphide จัดแสดงปี 2004 
ผู้แสดงเป็นนางไม้ ออเรลี ดูปงต์ Aurelie Dupont - La Sylphide 
มาติเยอ กันโย แสดงเป็น เจมส์ Mathieu Ganio - James

ละครโด่งดังในยุคนี้ ได้แก่ จีแซล Giselle

 จีแซล Giselle
  ฉากจีเซลเป็นบ้า - Mad scene
 
        นอกจากการเต้นรำ จีแซล ยัง มีฉากที่เป็นการแสดงละครที่น่าประทับใจหลายตอน เช่นฉากเกี้ยวพานในองก์หนึ่งของเรื่อง มีฉากเด็ดกลีบดอกมาร์เกอริต (ดอกเดซี่) เสี่ยงทายว่าพระเอกรักจริงหรือไม่ ด้วยบทกลอนว่า “บอกฉันหน่อย ดอกมาร์เกอริต เขารักฉันนิดหน่อย รักมาก รักคลั่งไคล้ใหลหลง หรือไม่รักเลย” เมื่อกลีบสุดท้ายตรงกับ ข้อความท่อนใดก็เท่ากับทำนายว่าเป็นเช่นนั้น
        อนึ่ง ท่าทางส่งภาษาใบ้ที่ใช้ในบัลเลต์ มักแปลจากภาษาฝรั่งเศสออกมาเป็นกิริยา เช่น กิริยาพระเอกบอกว่า "ฉันรักเธอ" พระเอกก็ชี้ที่ตนเอง ชี้ที่นางเอก แล้วเอามือวางทาบที่หัวใจของตน ที่เรียงลำดับกิริยาเช่นนี้ ก็เป็นไปตามไวยากรณ์ภาษาฝรั่งเศส ที่วางสรรพนามที่เป็นกรรมไว้หน้าคำกริยา คือพูดว่า ฉัน-เธอ-รัก
        ปา เดอ กาตร์ - Pas de Quatre (การเต้นสี่คน) แสดงหน้าพระที่นั่งพระนางเจ้าวิกตอเรีย ที่ประเทศอังกฤษ การแสดงครั้งนี้ประกอบด้วยดาราบัลเลต์ทั้งสี่คนแสดงร่วมกัน โดยแต่ละคนได้เต้นเดี่ยวแสดงความสามารถเฉพาะตัวด้วย บัลเลรีนาทั้งสี่คน ได้แก่ ตาลโยนี, แชร์รีโต, กรีซี และกราน เล่ากันว่าแต่ละนางเกี่ยงกันให้คนอื่นออกเวทีก่อน และต่างก็ต้องการออกแสดงเป็นคนสุดท้ายในชุดนั้น จนเป็นที่ปวดเศียรเวียนเกล้าของผู้ออกแบบนาฏกรรมคือ ชูล แปโร แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่าให้ผู้อาวุโสที่สุด (ตาลโยนี) ออกแสดงช่วงเต้นเดี่ยวเป็นคนสุดท้าย

5.)สมัยบัลเลต์คลาสสิก-บัลเลต์อิมพีเรียล

        บัลเลต์ในยุโรปก็ได้พัฒนาต่อไป โดยมีศูนย์กลางของพัฒนาการ ย้ายมาที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในประเทศรัสเซียแทนปารีส สมัยนี้เรียกว่าสมัยบัลเล่ต์คลาสสิก แต่เนื่องจากคำว่า คลาสซิเคิล - classical ใช้เรียกรูปแบบการเต้นรำที่มีแบบแผน  เมื่อพูดคำนี้เราก็นึกถึงการเต้นรำที่มีการเขย่งขึ้นปลายเท้าและเต้นตามกฎเกณฑ์ในตำรา  ดังนั้นเมื่อพูดว่าคลาสซิเคิล บัลเลต์ หรือบัลเลต์คลาสสิก ผู้พูดจึงอาจหมายความครอบคลุมถึงบัลเลต์ที่แสดงกันในสมัยบัลเลต์โรแมนติก เช่น ลา ซีลฟีด ต่อมาจึงเรียกบัลเลต์ที่พัฒนาขึ้นที่รัสเซียในสมัยหลังบัลเลต์โรแมนติก อิมพีเรียลบัลเล่ต์ (Imperial Ballet - บัลเลต์ในพระจักรพรรดิ [แห่งรัสเซีย])
โรงโอเปราและบัลเลต์มารียินสกี Maryinsky [แปลว่า "ในพระนางมารี"] 
ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (เลนินกราด)  ภาพถ่ายเมื่อประมาณค.ศ.1895 (พ.ศ.2438)
        บัลเลต์คลาสสิกรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงปี ค.ศ. 1880 - 1910 เรียกว่าเป็น "ยุคทองของ
บัลเลต์คลาสสิก"
บัลเลต์คลาสสิกยึดถือเทคนิคการเต้นบัลเลต์ "ตามตำรา" อย่างเคร่งครัด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า เทคนิคบัลเลต์ตามหลักวิชา (academic ballet technique) ฝรั่งเศสเรียกว่า ดองส์ เดกอล (danse d'école)
 ตำแหน่งการวางเท้า 5 ท่าของบัลเล่ต์คลาสสิค
ตำแหน่งการวางแขน 3 ท่าของบัลเล่ต์คลาสสิคสำนักรัซเซีย

 ท่าพื้นฐานที่เรียกว่า อาราเบสก์ ["แบบอาหรับ"] แบบสำนักรัสเซีย
 ท่าพื้นฐานชื่อท่าอัตตีตู๊ด เอฟฟาเซ่ (Attitude Éffacé)
คือจากมุมมองของผู้ชม ต้องเห็นขาทั้งสองข้างของผู้เต้นไม่ไขว้กัน
(ถ้าเป็นแบบเห็นขาไขว้บังกันอยู่เรียกว่า แบบครัวเซ - 
Croisé)
ในภาพเป็นการเปรียบเทียบ "ทรง" ของท่าเดียวกันของสามสำนักคือ
จากซ้ายสุด สำนักฝรั่งเศส รัสเซีย และอิตาเลียน
        การแต่งกายของบัลเล่ต์ในยุคนี้เป็นกระโปรงสั้นเรียกว่า กระโปรงตูตูแบบคลาสสิก (Classical tutu)
มารีอูส เปอตีปา - Marius Petipa 
        ชาวฝรั่งเศส เคยเป็นนักเต้นนำในคณะบัลเลต์ที่ปารีสโอเปรา ต่อมาได้จากปารีสมาเป็นนักเต้นนำประจำ คณะบัลเลต์หลวงของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ประดิษฐ์ลีลาประจำคณะบัลเลต์
บัลเล่ต์ของเปอตีปามีลักษณะเป็นบัลเลต์คลาสสิกอย่างแท้จริง เปอตีปานิยมสร้างบัลเลต์ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก
     บัลเลต์เรื่องเอกที่ออกแบบท่าเต้น ได้แก่ ดอน กีโฆเต - 
Don Quixote, ลา บายาแดร์ - La Bayadère, สวอน เลก -Swan Lake, เดอะ นัตแคร็กเกอร์ - The Nutcracker , เจ้าหญิงนิทรา - The Sleeping Beauty, เรย์มอนด้า - Raymonda ฯลฯ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพลงคลาสสิคของไชค็อฟสกีในการบรรเลง
 
 ปิโยตร์ อิลยิช ไชค็อฟสกี 
 
6.)บัลเลต์สมัยใหม่-บัลเลต์ รุส
The Dying Swan แสดงโดย Anna Pavlova
The Dying Swan แสดงโดย Maya Plisetskaya - มายา ปลิเซตสกายา

7.)บัลเลต์สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

Spring Waters

ผู้แสดง: Maria Bylova - มาเรีย บึโลวา และ Leonid Nikonov - เลโอนิด นิโกนอฟ

จากคณะบัลเลต์บอลชอย

Bach's Prelude ผู้ออกแบบนาฏศิลป์: ดนตรี: J.S. Bach (Prelude No. )

ผู้แสดง: Maya Plisetskaya

สรุปจาก : http://ballet-history.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น